AI กับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในชีวิตประจำวัน

     ชิปปิ้ง Artificial Intelligence (AI) หรือเรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนอุตสาหกรรมการจัดการโลจิสติกส์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า และ สนับสนุนระบบอัตโนมัติให้สามารถคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตได้อย่างแม่นยำ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ข้อดังนี้
     1. AI กับงานด้าน Logistics
การใช้ Automated Port มีการพัฒนาการใช้ AGV (Automated Guided Vehicle) หรือรถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ โดยใช้แถบแม่เหล็ก, วิชั่น, หรือเลเซอร์ สำหรับการขนส่งคอนเทนเนอร์(ชิปปิ้ง) เพื่อลำเลียงสินค้าไปเก็บอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จากนั้นเปลี่ยนเป็นคำสั่งงานส่งไปยังอุปกรณ์ควบคุม Automated เพื่อทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
     2. สามารถแก้ปัญหาและสร้างมูลค่าในธุรกิจโลจิสติกส์
คลังสินค้าอัตโนมัติที่สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงการดำเนินงาน รวบรวมข้อมูลกระบวนการสินค้าคงคลัง และอื่นๆ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ และมีการใช้ AI ในระบบอัตโนมัติของคลังสินค้าเพื่อคาดการณ์ความต้องการผลิตภัณฑ์ และส่งสินค้าตามความต้องการไปยังคลังสินค้า
     3. เลือกผู้ให้บริการขนส่งที่ดีที่สุด
อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ต้องตัดสินใจที่ซับซ้อน เช่นการเลือกบริการขนส่ง (ชิปปิ้ง) ที่ดีที่สุด ปัจจัยที่มีข้อมูลมากทำให้ยากต่อการวิเคราะห์ ดังนั้น AI มีบทบาทในการช่วยวิเคราะห์และลดตัวเลือก ทำให้ธุรกิจสามารถเลือกทีมงานที่ดีที่สุดและตัดสินใจได้ง่ายขึ้นและสร้างกลยุทธ์การทำงานที่ดีที่สุด
     4. สร้างกลยุทธ์การทำงานที่ดีที่สุด
ธุรกิจโลจิสติกส์และการขนส่งมีปัจจัยหลากหลาย เช่น การดำเนินการในคลังสินค้า เลือกใช้ยานพาหนะ สร้างเส้นทางการขนส่ง และการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง การทำความเข้าใจและสร้างกลยุทธ์ในเรื่องนี้มีความซับซ้อนสูงและยากต่อมนุษย์ AI จึงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการประมวลผลข้อมูลและ แนะนำวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพที่ช่วยให้ธุรกิจกำหนดกลยุทธ์ที่แม่นยำและช่วยลดความเสี่ยงและแก้ไขปัญหาได้ทันที
     5. วิเคราะห์ความเสียหายของอุปกรณ์ และยานพาหนะล่วงหน้า
การที่ธุรกิจสามารถคาดการณ์ได้ว่า ลูกค้ามีแนวโน้มที่ต้องการอะไร ซึ่งการสามารถคาดคะเนได้นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการวางแผนการดำเนินงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ นอกจากจะคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าได้แล้ว AI และ Machine Learning ยังมีบทบาทสำคัญในการคาดการณ์คำนวนความเสียหายของอุปกรณ์หรือยานพาหนะล่วงหน้า ซึ่งสามารถป้องกันความเสียหายได้ทันท่วงที ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
     ข้อจำกัดของ AI
⬩ ค่อนข้างมีค่าใช้จ่ายสูงและต้องการบุคคลที่ทีความชำนาญ มีทักษะเฉพาะด้านระดับสูง
⬩ มีแรงต่อต้านจากหน่วยงานที่กำกับดูแลและแรงงานที่ได้ผลกระทบจากการใช้งานระบบอัตโนมัติ
⬩ มีข้อกังวลเกี่ยวกับจริยธรรมในการใช้ AI

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top