🛻 แนวโน้มการขนส่งและโลจิสติกส์ต่อการค้าสินค้าและบริการในปี 2567 🎉
1. การจัดการคลังสินค้า
การใช้ระบบอัตโนมัติเข้าร่วมในการขนส่ง จัดเก็บ และการดำเนินการต่างๆ ในห่วงโซ่อุปทาน อย่างการใช้หุ่นยนต์หยิบจับและวางชิ้นงาน (picking robots) ที่สามารถเคลื่อนย้ายสินค้าได้โดยอัตโนมัติ และการใช้เทคโนโลยีระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ ที่ช่วยให้เห็นข้อมูลสินค้าในคลังในเวลาปัจจุบัน ทำให้ผู้ใช้งานในระบบทั้งหมดสามารถวางแผนการจัดการคลังสินค้าได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
2. ความยืดหยุ่นในห่วงโซ่
หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ภาคการขนส่งและโลจิสติกส์มีความจำเป็นต้องมีการจัดการอุปทาน (Supply Chain เพื่อให้มีความยืดหยุ่นและพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลก โดยวิธีที่สำคัญ อาทิ การบริหาร Resilience หรือความเสี่ยง การเพิ่มความสามารถในการปรับตัวให้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัว การสร้างพันธมิตรและคู่ค้าเพื่อให้มีผู้ผลิตที่หลากหลาย
3. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ต้องปรับตัวให้เข้ากับการค้าผ่านทางออนไลน์ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ(E-commerce) ในปัจจุบัน เนื่องจากการค้าในรูปแบบดังกล่าว สามารถเพิ่มจำนวนครั้งในการขนส่ง และต้องมีการขนส่งอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังต้องคำนึงถึงต้นทุนการส่งคืนสินค้าที่ผู้บริโภคไม่พึงพอใจอีกด้วย
ความต้องการการขนส่ง ภาคการขนส่งต้องมุ่งเน้นการขนส่งให้ถึงผู้บริโภคอย่างรวดเร็วที่สุด ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนขั้นตอนที่รวดเร็วขึ้น โลจิสติกส์แบบดั้งเดิมให้มีจุดกระจายสินค้ามากขึ้น มีคลังสินค้าในแต่ละภูมิภาคมากขึ้น เพื่อให้สะดวกแก่การขนส่งสินค้าไมล์สุดท้าย (Last-Mile Delivery) ให้ไปถึงมือผู้บริโภค ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้โดรนหรือรถบรรทุกไร้คนขับเพื่อที่จะส่งสินค้าดังกล่าว และอาจจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการขนส่งสินค้าต่อไปในอนาคต
🏢 บริษัท วันลิ้งค์ เทคโนโลยี่ จำกัด #ผู้นำทางด้านTelematics ระบบวิเคราะห์พฤติกรรม ติดตามยานพาหนะ และระบบ #IoVsolution และพาร์ทเนอร์หนึ่งเดียวของฮีโน่ไทยแลนด์ #Hino #HinoConnect
แหล่งที่มา :
https://www.salika.co/…/5-trends-logistic-business-2567/
แหล่งอ้างอิง :
รายงานสถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย ฉบับเดือนธันวาคม 2566 จากกองนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าสินค้าอุตสาหกรรมและธุรกิจบริการ (อบ.)