มาทำความรู้จัก Telematics ระบบตรวจจับพฤติกรรมคนขับ

     Telematics เป็นคำผสมระหว่าง Telecommunication (โทรคมนาคม) และ Information (ข้อมูล, สารสนเทศ) หมายถึง ระบบที่รวบรวมข้อมูลการใช้ยานพาหนะ พฤติกรรมคนขับ ด้วยหลายเทคโนโลยี เช่น GPS (Global Positioning System), GIS, IoT Solution, Cloud Computing และแสดงข้อมูลผ่าน Dashboard ได้แบบเรียลไทม์ Telematics เป็นที่รู้จักในมุมของโซลูชันติดตามยานพาหนะในเชิงพาณิชย์ มีประโยชน์หลักๆ ดังนี้
📌 Tracking : ช่วยให้รู้ตำแหน่งรถ ไม่ว่าจะเป็นรถส่วนตัว, รถบริการสาธารณะ, รถขนส่งสินค้า/โลจิสติกส์
📌 Safety : ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้คนขับและยานพาหนะจากการมี Data และทำให้รู้พฤติกรรมคนขับ
📌 Cost : ช่วยให้ผู้ประกอบการด้านขนส่งวางแผนการเดินทางได้ดีขึ้น จึงประหยัดทั้งเวลาและเงิน
📌 Maintenance : ช่วยดูแลรักษายานพาหนะให้ใช้งานได้นานขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม โดยช่วยให้รู้ว่าเครื่องยนต์ทำงานปกติ ร้อนเกินไป หรือมีบางอย่างผิดปกติ
📌 Job history : ช่วยบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการใช้รถ รวมถึงประสิทธิภาพเครื่องยนต์ ด้วยอินเทอร์เน็ตไร้สายและเทคโนโลยี “กล่องดำ”
     การทำงานของ Telematics ต้องอาศัยนวัตกรรมด้าน IoT และเทคโนโลยีการสื่อสาร
เป็นระบบที่ต้องใช้โซลูชันที่เป็นซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ประกอบกันในติดตามการขับขี่ เก็บข้อมูล และประมวลผล อย่าง Internet of Thing, Cloud Service, CyberSecurity และ Big Data Analytics เพื่อการส่ง-รับ-จัดเก็บข้อมูลและประมวลผลอย่างรวดเร็ว โดยมีโซลูลันย่อย เช่น Fleet Management System ระบบบริหารจัดการยานพาหนะ
     ในด้านฮาร์ดแวร์ก็จะมี พอร์ต OBD & OBD II (On-Board Diagnostic) อุปกรณ์ขนาดเล็กสำหรับติดตั้งในรถ ภายในมีชิปเซ็ตประมวลผล มีการอินทิเกรตเทคโนโลยีอื่นๆ เข้าไว้ด้วยกัน เช่น
📌 GPS Tracker ตัวรับและส่งสัญญาณพิกัดการเคลื่อนที่
📌 Modem เอาไว้เชื่อมอินเทอร์เน็ต
📌 Wireless ตัวรับสัญญาณไร้สาย
📌 Input Slots ช่องใส่ SIM Card, SD Card
📌 Automotive Interface ระบบแสดงการทำงานของยานยนต์
📍 ใช้ระบบนี้ตรวจจับ Driver ถึงจะขับรถดีขึ้น?
โซลูชัน Telematics ใช้งานได้หลายอุตสาหกรรม เช่น บริษัทประกัน บริษัทขนส่งและโลจิสติกส์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนและประกอบรถ ผู้ค้าปลีก สื่อและความบันเทิง แต่ได้รับความนิยมมากที่สุดในกลุ่มธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจประกันภัย เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลการขับขี่และใช้ประโยชน์ได้โดยตรง เช่น ตำแหน่งรถ ความเร็วในการขับรถ เวลาที่ใช้ การหยุด-จอด-แซง-เบรก ปริมาณน้ำมันคงเหลือ มาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมคนขับ สไตล์การขับขี่ รวมถึงใช้ติดตามการขนส่งสินค้าได้
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเพราะขับรถเร็ว ฝ่าไฟแดง ขับย้อนศร หลับใน ก็สามารถนำข้อมูลการขับขี่จากระบบ Telematics ที่ติดกับยานพาหนะ เช่น รถเมล์ รถส่วนบุคคล รถบริการสาธารณะ รถบรรทุก รถขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ มาใช้ในกระบวนการสืบสวนสอบสวน วิเคราะห์หาสาเหตุของอุบัติเหตุต่อไป
การปรับปรุงหรือแก้ไขเรื่องความประมาทเลินเล่อ การขาดจิตสำนึกและความรับผิดชอบนั้นทำได้ยาก หากนำเทคโนโลยีมาเก็บข้อมูลร่วมกับการบังคับใช้กฎหมาย มีบทลงโทษอย่างจริงจัง จะช่วยลดความสูญเสียได้มากเพียงใด

แหล่งที่มา :The AutoPi IoT Platform Improving fleet management with telematics reports
ดีเอชแอล ซัพพลายเชน เดินตามแผนเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050 ในประเทศไทย
แหล่งอ้างอิง : https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/830688

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
Scroll to Top